เภสัชตำรับโรงพยาบาล (hosp)

เภสัชตำรับโรงพยาบาล (hospital formulary; hosp) หมายความว่า รายการยาที่โรงพยาบาลสามารถผลิตขึ้นใช้ภายในโรงพยาบาลตามเภสัชตำรับของโรงพยาบาล โดยรายการเภสัชตำรับของโรงพยาบาลตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่

  1. ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ภาคผนวก 1) ตั้งแต่ 1 รายการหรือมากกว่า ที่นำมาผสมปรุงแต่งหรือเจือจางตามวิชาการเภสัชกรรม โดยคำนึงถึงประสิทธิผล ความปลอดภัย ความคงตัว ตามมาตรฐาน โดยยังคงรูปแบบ  (dosage form) เดิม หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับโรคหรือผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ยาดังกล่าวยังคงช่องทางการบริหารยา (route of administration) รูปแบบเดิม ทั้งนี้หมายรวมถึง การเตรียมผสมยาล่วงหน้า (Premixed) การเตรียมยาจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง เช่น การเตรียมจากยาเม็ด ไปเป็นยาน้ำ การเตรียม desensitized
  2. รายการยาที่คณะทำงานจัดทำเภสัชตำรับโรงพยาบาลพิจารณารับรอง ในภาคผนวก 2


ขั้นตอนและกระบวนการในการพิจารณาเภสัชตำรับโรงพยาบาล (แผนปัจจุบัน)

เภสัชตำรับโรงพยาบาล.jpg


คำอธิบาย

  1. 1. ผู้ยื่นแบบเสนอยา เสนอรายการเภสัชตำรับโรงพยาบาลผ่านแบบเสนอเภสัชตำรับโรงพยาบาลที่ได้จัดทำไว้ จากนั้นฝ่ายเลขานุการดำเนินการพิจารณากลั่นกรองรายการยาที่ถูกเสนอเป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาล และเสนอไปยังคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านเภสัชตำรับโรงพยาบาล
  2. 2. คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านเภสัชตำรับโรงพยาบาล ประสานคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านการคัดเลือกยา (คผช.) สาขาที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อมูลประกอบการพิจารณาด้านความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ภาระงบประมาณ รูปแบบเภสัชภัณฑ์และความแรงของรายการเภสัชตำรับโรงพยาบาล และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาร่วมให้ความเห็นในการประชุมคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติด้านเภสัชตำรับโรงพยาบาล และพิจารณาร่วมกับข้อมูลทางด้านความเหมาะสมของสูตร ความคงตัว การประกันคุณภาพ และศักยภาพในการผลิต ก่อนเสนอไปยังคณะทำงานยุทธศาสตร์การพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
  3. 3. คณะทำงานยุทธศาสตร์การพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็น ก่อนเสนอไปยังคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ
  4. 4. คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นผู้พิจารณาตัดสินใจขั้นสุดท้าย


แบบเสนอเภสัชตำรับโรงพยาบาล